ทางด้าน tiNy Build ผู้สร้างเกม Punch Club ซึ่งเป็นแนว Turnbase + Simulation เส้นทางบนสังเวียนนักมวย ทางเราก็เคยได้ Review เกี่ยวกับเกมนี้กันไปแล้ว (ดูลิ้งค์ได้ที่ด้านล่าง) สามารถเล่นได้ทั้งใน PC, Android และ iOS ล่าสุดทางเว็บไซต์หลักที่ tinybuild.com ได้มีการเปิดเผยถึงสถิติอันน่าทึ่งของตัวเกม เกี่ยวกับเรื่องการขายและการโหลดเถื่อนออกมา มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
ลิงค์ Review เกม Punch Club : คลิ๊กที่นี่
สรุปยอดขายและโหลดเถื่อนของเกม
ยอดขายของเกมตอนนี้อยู่ที่ 300,000 คน ซึ่งใน PC (รวม Mac/Linux) คิดเป็น 72.9% ทางด้านมือถือ 27.1% ส่วนยอดโหลดเถื่อนทั้งหมด 1.6 ล้านครั้ง โดยใน 1,137,000 ครั้ง อยู่บน PC/Mac/Linux ส่วนของมือถือทั้งหมด 514,000 ครั้ง และ 90% ของการโหลดเถื่อนบนมือถือพบว่าอยู่ในระบบ Android มีเพียงแค่ 10% เท่านั้น ที่อยู่บน iOS สรุปได้เลยว่าผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมโหลดเถื่อนกันมากบน PC
ข้อมูลแยกย่อยการโหลดเถื่อนเมื่อแบ่งออกเป็นโซน
เมื่อเจาะลึกไปในระดับโซนพื้นที่ต่างๆ ที่ทำการดาวน์โหลดตัวเกมแบบเถื่อน บนว่า ผู้เล่นในจีนนั้น ไม่สนใจเรื่องการแปลภาษาแต่อย่างใด เนื่องจากสามารถดาวน์โหลดตัวภาษาอังกฤษมาเล่นได้อย่างไม่ค่อยมีปัญหาและส่งผลกระทบเท่าไหร่นัก ถึงแม้จะมีตัวแปลออกมา ก็ยังคงโหลดเถื่อนอยู่ดี แต่ในทางกลับกันหลังจากตัวเกมได้ทำการเพิ่มภาษา โปตุเกสและบราซิล เข้าไป กลับพบว่ายอดดาวน์โหลดตัวเกมแบบเถื่อน ทะลุเพิ่มมากขึ้น แต่ยอดซื้อตัวเกมกลับยังคงเท่าเดิม ทำให้สรุปได้ว่า ฝั่ง บราซิล จะชื่นชอบการเล่นเกมในภาษาของตัวเอง (แต่ก็ยังคงโหลดเถื่อนอยู่ดี)
สุดยอดอันดับประเทศที่นิยมการโหลดเถื่อนบน PC ในวันที่ตัวเกมเพิ่มภาษา โปรตุเกส
จากรูปกราฟต่างๆ ทำให้เห็นว่าผู้เล่นในประเทศ เยอรมันจะมียอดการซื้อสูงสุด ลองลงมาก็คือ อเมริกา และ ฝรั่งเศล คุ้มค่าที่จะทำการแปลภาษาของประเทศนั้นๆ
สรุปโดยรวม
– Punch Club ปรากฏในเว็บบิท หลังจากตัวเกมถูกปล่อยออกมาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
– ทุกๆ ยอดขายใน PC 1 คน จะมีคนโหลดเถื่อน 4 ครั้ง
– ทุกๆ ยอดขายใน Android 1 คน จะมีคนโหลดเถื่อน 12 ครั้ง
– ทุกๆ ยอดขายใน iOS 1 คน จะมีคนโหลดเถื่อน 2 ครั้ง
นอกจากนี้ทางผู้พัฒนาตัวเกมยังได้บอกสิ่งทีน่าสนใจเอาไว้ด้วยว่า การพัฒนาเกมแบบ Cross-Platform โดยที่สามารถเก็บ Save ของเกมเอาไว้เล่นในเครื่องต่างๆ ได้จะช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้ผู้เล่นซื้อมากขึ้น รวมไปถึงผู้เล่นที่โหลดเถื่อนใน PC หากต้องการเล่นเกมบน มือถือก็จะมีโอกาสยอมจ่ายซื้อตัวเกม เพื่อทำให้เล่นข้าม Platform ไปมาได้อย่างสะดวก
ทิ้งท้ายโดยผู้พัฒนา การสร้างเกมควรแปลภาษาในโซนยุโรปด้วย
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของสถิติเหล่านี้ ก็คือ การแปลภาษาท้องถิ่นมีผลต่อการซื้อเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซน Western European (ยุโรปตะวันตก) เพราะว่าผู้เล่นในโซนเหล่านี้จะมียอดซื้อที่สูง และยอดโหลดเถื่อนที่ต่ำ
ที่มา : http://tinybuild.com/, http://sheapgamer.com/