จาก Ragnarok ในวันวาน ผ่านมา 15 ปี กับเกมที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตำนาน

RO 300817 650 1 470

RO-300817-650-1

ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องราวของความทรงจำ 14 ปีที่ผ่านมาของ Ragnarok Online เกมออนไลน์ในดวงใจของใครหลายๆ คน แม้ว่าวันเวลาจะผ่านไปกี่ปีเกมๆ นี้ก็ยังเป็นตำนาน ยังคงมีภาพความทรงจำดีๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนึงของชีวิตที่อยู่กับเกมๆ นี้ ไม่ว่าจะตัวผมเองหรือแม้แต่คุณผู้อ่าน

เริ่มจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่าง เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและยังกระจายออกไปตามโรงเรียน ร้านเกม จนถึงช่วงที่อินเตอร์เน็ตมีราคาถูกลงลงจนคนทั่วไปสามารถเอื้อมถึง โมเด็ม แพ็คเกจอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วเพียง 32 kbps แถมจอคอมพิวเตอร์ยังเป็นจอตู้, คีย์บอร์ดสีขาวหนาๆ กับด้วยเมาส์ลูกกลิ้ง แต่มันก็สามารถพาเราเข้าไปสู่โลกอีกโลกที่กว้างใหญ่โลกที่เปรียบเสมือนการจำลองชีวิตจริงๆ และยังต้องพบปะพูดคุยมีปฎิสัมพันธ์กับคนหลายๆ คนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จากเกม PC ที่เป็นแผน CD มาถึงยุคของเกมออนไลน์ ทำให้ยุคนั้นร้านอนเตอร์เน็ตคาเฟ่เริ่มบูมเปิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด โดยเฉพาะย่านมหาลัยดังๆ ทั้ง เกษตร รามฯ ABAC และอีกหลายๆ แห่งตามมา

ragnarok-personagens

อย่างที่ได้เกริ่นเอาไว้ว่า จากเกม PC ไม่ว่าจะ Starcraft, Warcraft หรือ CounterStrike ต่อยอดมาเป็นเกมออนไลน์ แรกๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่ามันแตกต่างกันตรงไหน จนได้ลองเข้าไปเล่นแบบจริงๆ จังๆ กับเกมออนไลน์เกมแรก Ragnarok Online หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า RO ที่พัฒนาโดย Gravity ประเทศเกาหลี แต่มีเปิดให้บริการบนเซิร์ฟเวอร์อินเตอร์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือเกมแนว MMORPG เราก็ได้แต่เรียกว่าเล่นแร็คบ้าง เกมตีโปริ่งบ้าง

ro-sd-characters3

ด้วยความน่ารักของตัวละครและความแปลกใหม่ที่เราได้มีโอกาสเข้าไปเล่นอยู่ในเกมเจอใครอีกหลายต่อหลายคน พิมคุยโต้ตอบกันไปมาแบบประสาอังกฤษงูๆ ปลาๆ ผสมกับภาษาคาราโอเกะแบบที่เค้ากำลังนิยมใช้กันในสมัยนั้น จนได้มารู้ทีหลังว่า RO หรือ Ragnarok นั้นมาจากหนังสือการตูน RAGNAROK ภูตเทพวิบัติที่เขียนโดย Lee Myung-jin” ที่เนื้อหาส่วนใหญ่อิงมาจากเทพปกรณัมนอร์สแต่ก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมาก เล่นเกมไปอ่านการ์ตูนไปก็ยิ่งทำให้เราอินแล้วเข้าถึงเกมได้มากขึ้น

250px-Ragnarok_manhwa

หน้าปกของ สำนักพิมพ์โตเกียวป็อป ของแร็กนาร็อก ภูติเทพวิบัติ เล่ม 1 (ค.ศ. 2002)

ภาพปกโดยอี มย็อง-จิน อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/RAGNAROK

ในระหว่างที่กำลังเพลินและสนุกไปกับการเล่นเกมๆ นี้ มีทั้งการลองผิดลองถูกเล่นอาชีพโน้นอาชีพนี้ไปเรื่อยเปื่อยทั้งเล่นเองบ้าง หรือลองหาตามแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งสมัยนั้นยังเป็นยุคของเว็บบอร์ดต่างๆ ที่ยังเฟื่องฟูโดยเฉพาะเว็บบอดร์ด pramool.com หรือบอร์ดประมูล ซึ่งถ้าดูจากชื่อบอร์ดหรือชื่อเว็บแล้วผมก็ยังเคยคิดในใจว่ามันเกี่ยวกับเกมตรงไหนทำไมคนถึงเข้ามารวมตัวกันอยู่ในนี้มากมาย กลายเป็นแหล่งรวมตัวของคนเล่นเกมไปโดยปริยายมาช่วงหลังๆ ก็มีกลุ่มของเกมโน้นเกมนี้เพิ่มขึ้นมาอีกหลายต่อหลายเกมตามจำนวนเกมที่เปิด

a0015808_13484910

จาก RO เซิร์ฟเวอร์อินเตอร์ ที่ทาง Gravity ได้เปิดให้ทดสอบในรูปแบบภาษาอังกฤษ (อ้างอิงเอาไว้ว่าเปิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เป็นระยะเวลา 9 เดือน) จู่ๆ ก็ปิดปรับปรุงหรือเตรียมความพร้อมอะไรสักอย่างถ้าจำไม่ผิดก่อนที่ Gravity จะเริ่มขายสิทธิ์ในการเปิดให้บริการในประเทศต่างๆ เริ่มจากเกาหลีประเทศบ้านเกิดของผู้พัฒนาตอนนั้นเกมเมอร์ไทยเราก็ยังติดใจแห่กันไปเล่นตามๆ กันจนเริ่มมีการเก็บค่าบริการเป็น AirTime หรือรายเดือน บางคนที่พอมีกำลังและอยากเล่นต่อก็ยังหาทางที่จะจ่ายรายเดือนเพื่อให้ไอดีของตัวเองเล่นได้ต่อ ทำให้ช่วงนั้นเองก็มีธุรกิจใหม่ที่รับจ่ายค่ารายเดือนเกม RO เซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ รวมทั้งเกมอื่นๆ เกิดขึ้น ประจวบเหมาะกับเซิร์ฟเวอร์ญี่ปุ่นเองก็เปิดไล่ๆ ตามกันมาแต่ว่ายังอยู่ในช่วงทดสอบพอเล่นไปได้สักพักก็ต้องเลิกเพราะเค้าเริ่มเก็บค่าบริการ ช่วงนั้นเรียกว่า ความฝันแทบจะพังทลายแห่ไปเล่นที่โน่นทีที่นี่ทีแต่ก็เล่นได้แค่แป๊ปๆ หรือไม่ก็ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อเข้าไปเล่นเซิร์ฟเวอร์เกาหลี

ในทีสุดเหมือนสวรรค์เปิด เพราะด้วยความนิยมของเกม RO แบบถล่มทลายทำให้หลายๆ ประเทศติดต่อไปทาง Gravity เพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์มาเปิดให้บริการ รวมทั้งในประเทศไทยเราเองจังหวะนี้เองที่ทำให้เกิดนิตยสารเกมที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อ “คอมพ์เกมเมอร์นิวส์” หนังสือเกมรายสัปดาห์ฉบับแรกที่ทำออกมาด้วยความชอบ และคนเล่นเกมโดยเฉพาะเกม Ragnarok Online

11009132_10153144514480359_7798498455700396144_o

กระแส Ragnarok Online เซิร์ฟเวอร์ไทยแรงขนาดไหนคงไม่ต้องถึงกับมานั่งบรรยายกันมากเดินไปไหนมาไหนก็เจอแต่คนเล่นเกมนี้ ธุรกิจร้านเกมยิ่งคึกคักขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาถูกลงมีเงินประมาณ 2x,xxx ต้นๆ ก็ได้เครื่องคอมกลับบ้านไปเล่นกันแบบชิลๆ ธุรกิจอินเตอร์เน็ต มี ISP หรือผู้ให้บริการเจ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นแข่งขันกันทั้งคุณภาพ ความเร็วและราคา จาก 32K มาเป็น 56K เพิ่มเป็น 128K (อันหลังส่วนใหญ่จะเป็นร้านอินเตอร์เน็ตที่ใช้กัน) ทำให้ช่วงนั้นมีผู้เล่น RO เพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว เกิดความต้องการในเรื่องข้อมูลข่าวสาร แนวทางวิธีการเล่นจนต้องมีหนังสือที่ชื่อ RO News ที่รวมเอาข้อมูลเกม RO เกมเดียวแยกออกมาอีกหนึ่งฉบับ ซึ่งคนที่ทันยุคนั้นคงจะรู้จักทั้ง KOPTER, CODEMAN, ปลาเก๋า โดยเฉพาะไก่จ๊วบแซ่เจี๊ยบ ที่มาในลุคของ Novice ใส่หมวกไข่ ก่อนที่หลังๆ จะโดนไล่ไปเปลี่ยนเป็น Acolyte สายแชท วันๆ ไม่เก็บเลเวลนั่งอยู่แต่ในเมืองติดแชทถ่ายรูปคู่กับคนเล่น คนอ่านแล้วเอามาลงในหนังสือสนุกสนานกันไปตามประสาคอเดียวกัน

21208477_516306742041675_1837084701_n

(นิตยสาร RO News ที่แยกออกมาจาก เกมเมอร์นิวส์ เป็นหนังสือที่รวมข้อมูลการเล่นของ RO โดยเฉพาะ)

ด้วยจำนวนผู้เล่นของ RO ในสมัยนั้น ที่คาดว่าจะมี CCU หรือจำนวนผู้เล่นที่ออนไลน์พร้อมๆ กันในเวลาเดียวมากถึงหลักแสนคน จนทำให้ทางภาครัฐเป็นกังวลว่าเกมจะเข้ามาเป็นสิ่งมอมเมาเยาวชนโดยเฉพาะเด็กหรือคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจนต้องเปิดให้มีการลงทะเบียนผู้เล่นผ่านทางไปรษณีย์ แถมยังมีการจำกัดเวลาในการเล่นเอาไว้

Untitled-2-500

(บัตรที่ใช้เติมเกม Ragnarok ช่วงนั้น หลายๆ คนอาจจะยังมีเก็บเอาไว้อยู่)

จากการเล่นเกมเพื่อความสนุกความบันเทิงเริ่มเกิดเป็นธุรกิจด้วยกระแสความฮิตของตัวเกม ย่อมเกิด demand และ supply คนซื้ออยากซื้อ คนขายอยากขาย ทุกอย่างในเกมล้วนมีมูลค่า ในส่วนนี้เองทำให้เกิดธุรกิจระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง นั่นคือการซื้อขายไอเทม หรือเงิน M หรือแม้แต่ตัวละคร จะว่าไปแล้วในต่างประเทศเค้าก็มีธุรกิจนีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรบ้างก็ขายกันผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ไม่ก็ตามเว็บบอร์ด แต่ในประเทศไทยเราด้วยความที่เกมออนไลน์เป็นสิ่งแปลกใหม่ หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับธุรกิจนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมา บ้างก็โกงกัน บ้างก็กลายเป็นมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง มีข่าวออกมาในแง่ลบต่างๆ นาๆ 

ในที่สุดเมื่อการเล่นเพื่อความบันเทิงมีธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง ของทุกอย่าง ไอเทมทุกชิ้นมีมูลค่าในตัวเอง ทำให้เกิดกลุ่มคนที่หวังแสวงหาผลประโยชน์จากเกมพยายามสรรค์หากลโกง หรือตัวช่วยที่ทำให้ตัวเองได้รับไอเทมมากขึ้น ซึ่งทำให้เป็นเหตุที่มาของการเกิด “บอท” หรือโปรแกรมช่วยเล่นตามมา แม้ว่าทางผู้ให้บริการในยุคสมัยนั้นจะให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเท่าไหร่ก็ไม่สามารถที่จะยับยังได้ ไม่ว่าจะเป็นการ “แบนตัวละคร” “แบนไอดี” หรือศึกษาและลงโปรแกรมป้องกันต่างๆ นาๆ ชนิด “บอท” ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะหมดไปจาก RO ได้เสียที

และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เล่น RO ในช่วงนั้นเริ่มจากหายไปทีละน้อยๆ ประจวบเหมาะกับจังหวะที่มีเกมออนไลน์ใหม่ๆ เข้ามาเปิดให้บริการในไทยกันแบบต่อเนื่อง แถมยังเล่นฟรี ไม่มีเก็บค่า AirTime ไม่ต้องเติมเงินก็สามารถเข้าเล่นได้ ทำให้คนเล่นมีตัวเลือกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สุดท้ายแล้ว Ragnarok Online ไทยจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการครั้งใหญ่จาก AirTime มาเป็น Item Selling แทน

แม้ว่าปัญหา “บอท” จะไม่สามารถแก้ไขได้ 100% แต่ทางผู้ให้บริการในยุคนั้นก็พยายามหากิจกรรมต่างๆ นาๆ เข้ามาให้คนเล่นได้มีคอมมูนิตี้ มีสังคมในเกม ด้วยการจัดงานประจำปีให้กับผู้เล่นได้มาพบปะพูดคุย รวมทั้งการจัดแข่งขัน Guild War ที่ใช้ชื่อว่า RTC ซึ่งในช่วงหลังกลายเป็นการแข่งขันระดับโลกที่มีผู้เล่น Ragnarok Online หลายต่อหลายประเทศมาแข่งขันกันมีเงินรางวัลที่เพิ่มขึ้นทุกปีใช้ชื่อว่า RWC หรือ Ragnarok World Championship โดยปีแรกที่จัดคือปี 2004 ที่ประเทศเกาหลีใต้

RWC01

(การแข่งขัน RTC ครั้งยิ่งใหญ่ในอดีตที่จัดขึ้นใจกลางห้าง)

peak-ro-girl-9

(พีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ ดารานักแสดงที่เคยเข้าร่วมประกวดสาว RO Girl)

เครดิตรูป : game.mthai

วันและเวลายังคงเดินหน้าต่อไป จากที่เกมเมอร์ในวัยเด็ก เปลี่ยนมาเป็นผู้ใหญ่ จนมาเป็นวัยทำงาน ทำให้ผู้เล่น RO เริ่มห่างหายไปจากเกมด้วยภารกิจหน้าที่ หรืออีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจุดประสงค์ในการเล่นเปลี่ยนไปจากที่เคยเล่นเพื่อความสนุกความบันเทิงเป็นจริงจังเกมเมอร์ แก่งแย่งแข่งขันตีบ้านตีปราสาททำให้ผู้เล่นส่วนนึงต้องถอยตัวเองออกมา แต่ในมุมกลับกันระบบ Guild Wars ก็เป็นสีสรรค์เป็นความสนุกที่ทางผู้พัฒนานำเข้ามาต่อยอดให้กับคนเล่นเพื่อให้เกิดสังคม การรวมตัว การพูดคุยกันระหว่างคนเล่น

ในที่สุด 14 ปีของ Ragnarok Online กับผู้ให้บริการรายเก่าก็ถึงเวลาที่จะต้องแยกย้ายเหลือไว้แต่เพียงความทรงจำดีๆ ที่มีให้ต่อกัน ก่อนที่จะมีการสานต่อนำกลับมาเปิดอีกครั้ง โดยผู้ให้บริการรายใหม่ Electronics Extreme จากคนเล่นเกม รักในเกม RO จนกลายมาเป็นผู้ให้บริการพร้อมนำแนวคิดในมุมของของคนเล่นเข้ามาบริการ ทันทีที่ ROEXE เปิดให้บริการบรรดาคนเล่นทั้งรุ่นเก่า รุ่นเก๋า ที่รู้จักเกมนี้ดีอยู่แล้วก็เหมือนจะพร้อมใจรวมตัวกันกลับมาเล่น กลับมาลองสัมผัสบรรยากาศเก่าๆ อีกครั้งจนได้รับกระแสตอบรับที่ดี บวกกับการให้บริการในแบบ Free to Play โดยที่ผู้เล่นส่วนใหญ่ต่างยินดีกลับมาเล่นอีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะต้องเริ่มต้นปั้นตัวละครใหม่ก็ตาม

RO1

(งานเปิดตัวเกม ROEXE ที่ Siam Square One มีผู้เล่นหน้าเก่าหน้าใหม่ให้ความสนใจกันมากมาย)

ทิศทางการให้บริการเกม Ragnarok Online ภายใต้บ้านหลังใหม่ Electronics Extreme กับการเปลี่ยนแปลงไปของตัวเกมตามยุคสมัยย่อมมีอะไรที่เป็นความแปลกใหม่ที่เพิ่มเข้ามาหนึ่งในนั้นคือระบบ Item Selling หรือการซื่อไอเทมเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ นาๆ  รวมทั้งชุดแฟชั่นแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ผมเชือกว่าแฟนๆ RO อาจจะยังไม่เคยได้สัมผัสเช่นเดียวกัน ซึ่งของทั้งหมดเหล่านี้ผมมองว่าเข้ามาช่วยเพิ่มความสนุกในการเล่นและยังช่วยให้เราเล่นได้ไวขึ้น และเข้าไปถึงตัวเกม RO ในช่วงแพทช์หลังๆ ได้เร็วขึ้นอีกด้วย แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจะแอบคิดว่าระบบเหล่านี้หรือความสะดวกสบายทั้งหลายจะทำให้กลิ่นอายความเป็น RO เสียไปด้วยหรือปล่าว?

screenLoki007 screenLoki014

จาก RO ในวันวานสู่ RO ในยุค EXE มนต์เสน่ห์ของความเป็นต้นตำรับเกมออนไลน์ยังไม่จากหายไป แม้ว่ารูปแบบการเล่น การเก็บเลเวล จะมีเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างแต่ผมเชื่อว่าคนเล่นที่เป็นเกมเมอร์ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้ในเวลาไม่นาน ทำให้เราเริ่มกลับมาสนุกกับการเล่นการเก็บเลเวลอีกครั้งแม้ว่าจะมีเวลาเล่นที่น้อยลงด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีแต่ก็ยังมีตัวช่วยเป็นตัวทุ่นแรง ทั้งยาปั๊ม, ใบคูณ EXP, ใบคุณ Job EXP หรือจะเป็นไอเทมที่ช่วยบัฟเพิ่มความสามารถนาๆ ชนิด บวกกับกิจกรรมที่เค้ามีแจกไอเทมหรือคูณ EXP เผลอแป๊ปเดียวก็เลเวล 99

ส่วนผู้เล่นเก่าที่มีฐานข้อมูลตัวละครจากผู้ให้บริการรายเดิมก่อนที่จะหมดสัญญา เค้าก็มีการส่งต่อข้อมูลเปิดให้ย้ายฐานข้อมูลตัวละครมาลงที่เซิร์ฟเวอร์ Asgard ของทาง EXE พร้อมให้เล่นต่อจากเดิมได้เลย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์นี้จะเป็นแพทช์ของ Class 3 ที่ต่อจากเดิม

21268394_1491130407620712_1282037373_o

ไม่เพียงแค่เรื่องแพทช์ หรือเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับทั้งผู้เล่นเก่าและผู้เล่นใหม่ ยังมีเรื่องของการแข่งขัน RTC ที่เปลี่ยนรูปแบบการแข่งไปจากเดิมให้มีความเป็นอีสปอร์ตมากขึ้นแถมยังเพิ่มเงินรางวัลไปถึงหลักแสนบาท ที่สำคัญคือ ปีล่าสุดที่กำลังแข่งอยู่ตอนนี้ยังเอาระบบ Prize Pool ที่ใช้ในการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลกหลายต่อหลายเกมมาใช้กับการแข่งขัน RTC2017 ทำให้เงินรางวัลตอนนี้ทะลุไปหลักล้านบาทแล้ว (อ้างอิงล่าสุดจากเว็บ https://ro.exe.in.th)

capture-20170901-122753

DSC_0409

การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแผนการอัพเดทของ RO Revo Classic ผมเชื่อว่าคนเล่นยุคแรกๆ หรือแม้แต่คนเล่นปัจจุบันก็อาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่ก็ต้องยอมรับว่า จาก Episode สู่แพทช์ที่มีชื่อว่า “Revo Classic” ในเวอร์ชั่นใหม่นี้แตกต่างจากเดิมค่อนข้างมาก ซึ่งผมพยายามลบภาพความเคยชินที่ยึดติดกับตัวเลข EP อย่าง 5.0 / 7.0 / 11.0 และพยายามเข้าใจทีมงานว่าต้องการคงกลิ่นอายแบบดั้งเดิมเอาไว้ แต่มีความทันสมัยและถูกจริตเกมเมอร์ไทยมากยิ่งขึ้น จนบางครั้งผมแอบสับสนว่า “นี่คือการอัพแพทช์ตามใจฉันรึเปล่า?

14615841_1132806240144475_4894201850174454829_o

14711232_1135498429875256_7265603486810718056_o14713090_1135497253208707_8239503288907483567_o

แต่พอผมเริ่มกลับมานั้งอ่านข่าวก็เริ่มพอเข้าใจว่าอ๋อ…ทีมงานต้องการให้ผู้เล่นได้ลองอะไรใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเดิม ให้อารมณ์เหมือนเล่นเกมใหม่แต่ได้ความรู้สึกย้อนไปวันวานที่เริ่มจากการสร้างตัวละคร สุ่มอัพสกิลผิดๆ ถูกๆ เลือกอัพค่าสเตตัสตามใจฉัน แบบที่เคยไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวเกมมากนัก ทำให้รู้สึกมีอะไรน่าค้นหา นั่นถือเป็นเสน่ห์ของเกมแนว MMORPG จึงทำให้เซิร์ฟเวอร์แพทช์ Revo นั้นจึงมีความแตกต่างออกไปบางส่วนจากที่ทุกคนเคยเล่นนั่นเอง

เพราะจริงๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเพราะ เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมงานในไทยและทีมผู้พัฒนา Gravity ทั้งทางฝั่งสตูดิโอเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งบางอย่างก็สามารถทำได้เลยทันที แต่บางก็จำเป็นต้องคุยกันในเรื่องรายละเอียดและขั้นตอน รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดตามมา ก่อนที่จะออกมาเป็นแพทช์อัพเดทให้เราได้เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

20-010917-66

สรุปง่ายๆ ก็คือ การให้บริการในรูปแบบ Official ไม่ใช่สิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เองตามใจอย่างที่ทุกคนเข้าใจ  เพราะทาง Gravity ให้ความสำคัญกับเรื่องสมดุลเกมเป็นอย่างมาก ในการปรับเปลี่ยนเพียงแค่จุดเล็กน้อย 1 จุด จำเป็นต้องผ่านการทดสอบและการประชุมระหว่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งมีการส่งทีมงานจาก Gravity มาทำงานประจำที่ Electronic Extreme ในไทยกันเลยทีเดียว

25082017-big-update-banner

ล่าสุดเพิ่งมีประกาศออกมาว่า RO จะอัพเดทระบบอาชีพ “HI-Class กำลังจะมา” หลังจากที่ปล่อยให้คนเล่นอย่างเราๆ เฝ้านับวันรอกันพักใหญ่ แต่แพทช์ของ Revo Classic นี้จะมีเพียงแค่ระดับไฮคลาสเท่านั้น ซึ่งจะไม่มีคลาส 3 กลายเป็นว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาจากคนเล่นต่างๆ นาๆ แน่นอนว่าเสียงของผู้เล่นต้องเป็นใหญ่และสำคัญที่สุด  และแล้วเมื่อเรื่องนี้ไปถึงทีมงานก็มีข้อความบอกผ่านเว็บไซค์หลักว่า “ผู้เล่นอย่าเพิ่งตกใจกันไปนะคะ ส่วนนี้จะไม่เป็นผลกระทบต่อการอัพเดทแพทช์ในอนาคต ซึ่งเรามีแผนอัพเดทส่วนอื่นๆ ตามมาอย่างแน่นอน โดยสาเหตุที่เราเลือกคลาสสูงสุดอยู่ที่ไฮคลาสในเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดให้บริการแพทช์ Revo Classic นั้น เพราะนี่เป็นคลาสที่เล่นสนุก และยังคงความเป็นคลาสสิก เลยอยากให้ทุกคนได้ลองมาสัมผัสไฮคลาสในแบบฉบับ Revo Classic กันดู รับรองว่าคุณจะติดใจอย่างแน่นอน”

Rotree

โดยทั้งหมดนี้จะอัพเดทเป็นแพทช์ใหญ่ และจะมาในวันที่ 21 กันยายนที่จะถึง แน่นอนว่าจะเปิดให้เปลี่ยนอาชีพเป็น HI-Class ทั้งหมด 6 สายอาชีพ ในคลาส 2-1 ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนที่เหลือเตรียมอัพเดท 2-2 เข้ามาภายใน 2 เดือนถัดไป (อันนี้ไม่รวมถึง Expanded Class อื่นๆ ในอนาคต) และยังสามารถทำ God Item Quest เควสท์ปลดผนึกไอเทมสุดยอดหายาก รวมถึงขยายเพิ่มอีก 10 แผนที่ และ 3 เมืองใหม่ กับอีก 2 ดันเจี้ยนให้แบบจุใจ

และที่เด็ดไปกว่านั้นยังอัพเดท Extra Skill หรืออีกชื่อ “Job Platinum Skill” สกิลเสริมพิเศษของแต่ละสายอาชีพที่ได้มาจากการทำภารกิจเควสท์เฉพาะของอาชีพนั้นๆ เปิดเพิ่มอีก 6 สายอาชีพ (ยกเว้น Sage, Alchemist, Blacksmith) ซึ่งรายละเอียดส่วนใหญ่ที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้เราก็ได้รวบรวมเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้วที่ https://compgamer.com/66124

เป็นยังไงกันบ้างครับจาก Ragnarok Online ในวันวาน เกมออนไลน์ในใจแฟนๆ เกมเมอร์คนไทยหลายต่อหลายคน กับช่วงระยะเวลา 15 ปี เรียกว่าเปลี่ยนไปเยอะมากทีเดียวตามที่เราได้สรุปเป็นหัวข้อๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการมาเป็น Electronics Extreme ทั้งแพทช์อัพเดท ทั้งการแข่งขัน รวมไปถึงกิจกรรม ผมเชื่อว่าแม้บางอย่างอาจจะถูกใจคนเล่นอย่างเราๆ บ้าง ไม่ถูกใจบ้าง เพราะทุกอย่างมีกระบวนการในการทำงานแต่ทีมงานก็คงไม่นิ่งนอนใจพยายามทำออกมาให้ดีที่สุด ส่วนการอัพเดทครั้งใหญ่ที่จะถึงวันที่ 21 กันยายนนี้ ผมเชื่อเลยว่าไม่ว่าจะเป็นผู้เล่นปัจจุบัน หรือผู้เล่นเก่าจะต้องกลับมาลองสัมผัสกับ RO ในแพทช์นี้อย่างแน่นอน