“การีนา” ชูความสำเร็จ โครงการ “Gamer to Coder” ปั้นนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ พร้อมประกาศผลผู้ชนะ และมอบรางวัลทุนการศึกษากว่า 100,000 บาท

ภาพ 1

ตัวแทนรองชนะเลิศอันดับ 1 (ซ้ายสุด)ตัวแทนรางวัลชนะเลิศ (ที่ 2 จากซ้าย)คุณณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ   (ที่ 3 จากซ้าย)คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (กลาง)ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) (ที่ 3 จากขวา),   คุณดนุภณ ศรีเมฆ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) (ที่ 2 จากขวา)ตัวแทนรองชนะเลิศอันดับ 2 และตัวแทนจากรางวัลชมเชย 7 ทีม

 

บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จ “โครงการ Gamer to Coder โครงการนำร่องฝึกอบรมพัฒนาเกมเมอร์รุ่นใหม่ สู่การเป็นนักเขียนโปรแกรม” ที่ร่วมมือกับ “กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อช่วยผลักดันเยาวชนและประชาชนคนรุ่นใหม่ ก้าวสู่สังคมดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพในสังคมยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเขียนโปรแกรม Coding ซึ่งมีนักเรียนระดับมัธยมปลายและอาชีวะจากทั่วประเทศไทยร่วมฝึกอบรมในโครงการฯ จำนวนมากถึง 680 ทีม หรือกว่า 1,500 คน โดยมีผู้ร่วมโครงการจำนวน 160 ทีมเข้าร่วมประกวดพัฒนาเว็บไซต์กิจกรรมแบบอินเตอร์แอคทีฟหลังจบการฝึกอบรม และทีมที่มีผลงานโดดเด่นจำนวน 10 ทีม ได้รับรางวัลและทุนการศึกษามูลค่ากว่า 100,000 บาท

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศธ.

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า “การร่วมมือกับ การีนาในโครงการ Gamer to Coder  ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยผู้ที่เข้าร่วมล้วนมีความตั้งใจ มุมานะ ในการศึกษาหาความรู้จากโครงการนี้ จนสามารถสร้างผลงานได้น่าประทับใจ ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นการจุดประกายให้เยาวชนและประชาชนทุกช่วงวัยเห็นความสำคัญในการเขียน Coding และพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็น Coder หรือนักเขียนโค้ดได้ในที่สุด ซึ่งจะสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและขับเคลื่อนประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไปในอนาคตได้”

ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea ประเทศไทย

ทางด้าน ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “โครงการ Gamer to Coder เป็นโครงการนำร่อง ภายใต้แนวคิด “Unlock skill ใหม่ไปไกลทุก Level” ได้รับการตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากมีนักเรียนจากทั่วประเทศกว่า 1,500 คน ให้ความสนใจและเข้าร่วมฝึกอบรม

ทีมผู้ชนะทั้งหมด 10 ทีม

ทั้งนี้ยังพบว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีวินัย มีความคิดที่เป็นระบบ และมีความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ของนักเรียนที่มีความสนใจร่วมกันมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมอีกด้วย อีกทั้งในปัจจุบันกลุ่มผู้ปกครองอยู่ในเจนเนอเรชันที่ใช้เทคโนโลยีเป็น ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง และคุณครู ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนพัฒนาตัวเองด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

 

สำหรับหลักสูตรการเรียน Coding ในจำนวน 10 คลาส โดยแบ่งเป็นคลาสละ 3 ชั่วโมง ที่เปิดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากทั่วประเทศ ได้ทำการรู้จักกับ Web Development, Gamification, User Experience design (UX/UI), เรียนภาษาและทักษะด้าน Coding อาทิ HTML, CSS, JavaScript, Restful API, Go Lang นอกจากได้รับความรู้ ยังได้รับแรงบันดาลใจและการถ่ายทอดประสบการณ์จากกูรูในวงการเกมและดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งผู้เชี่ยวชาญจากการีนาและแวดวงนักพัฒนาของประเทศไทย

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศธ

เมื่อจบหลักสูตร ได้เปิดให้แต่ละทีมส่งผลงานเข้าแข่งขันด้วยการประยุกต์และต่อยอดจากการเรียน โดยมอบโจทย์ให้ผู้ร่วมโครงการสร้างสรรค์เว็บไซต์กิจกรรม ด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากร (Digital Assets) บนเกมของการีนาซึ่งมีนักเรียนส่งผลงานเข้าแข่งขันกว่า 160 ทีม และมี 10 ทีมที่มีผลงานโดดเด่นจนได้รับรางวัลและทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศธ copy 0

สำหรับทีมผู้ชนะรับรางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่รางวัลและทุนการศึกษา 40,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับโล่รางวัลและทุนการศึกษา 20,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับโล่รางวัลและทุนการศึกษา 10,000 บาท ทั้งนี้ ยังมีรางวัลชมเชยอีก 7 รางวัล โดยได้รับทุนการศึกษารวมมูลค่า 28,000 บาท

ทีมชนะเลิศ

โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือทีม “เจ๊พรสั่งลุย” จากโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่ ได้เผยว่า “โครงการนี้นอกจากจะให้ความรู้ใหม่ ๆ ในการนำโค้ดไปใช้ในการพัฒนาออกแบบเว็บไซต์แล้ว ยังเป็นการเปิดโลกและประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยส่งต่อแรงบันดาลใจในการนำความรู้ความสามารถเรื่อง Coding ไปสู่เส้นทางอาชีพในอนาคตได้หลากหลาย ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องสร้างเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำการเขียนโปรแกรมไปต่อยอดสร้างแอปพลิเคชัน หรือเกมต่าง ๆ ได้ ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราสามารถเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ เพื่อขยายผลไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้”

ทีมรองอันดับ1 7

ทีมรองอันดับ2 3

“จากความสำเร็จโครงการฝึกอบรม Gamer to Coder ในครั้งนี้ ทางการีนาและกระทรวงศึกษาธิการ จะมีการวางแผนในการสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ร่วมกันอีก เพื่อส่งเสริมต่อยอดโอกาสให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่ ได้เติบโตไปกับการเขียน Coding และสายงานธุรกิจเกมในอนาคต เพราะการีนามีความมุ่งมั่นในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลพื้นฐานที่จำเป็นให้เข้าถึงทุกคนได้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นในสังคมยุคเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป” ดร. ศรุต กล่าวทิ้งท้าย