การเดินหมากครั้งสำคัญของ Sea Ltd.(Garena เดิม) จะส่งผลต่อวงการเกมอย่างไร

Sea Logo Design Vertical 2

Sea_Logo_Design-Vertical

จากที่ทราบกันไปในช่วงสายๆของวันนี้แล้วว่า Garena ได้ทำการรีแบรนด์ครั้งใหญ่เปลี่ยนชื่อเป็น Sea Ltd. มีเป้าหมายเพื่อการมาโลดแล่นเป็นเบอร์ 1 ของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโฟกัสหลักอยู่ที่การเปิดให้บริการ และทำการตลาดของบริษัทในเครืออย่าง Shopee ณ ประเทศอินโดนีเซียindonesiasocialmobiletrends-131211045928-phpapp02-thumbnail-4

ก่อนอื่นเลยเรามาเจาะประเด็นกันที่ “ทำไมต้องเป็นประเทศอินโดนีเซีย?” เป็นประเทศอื่นไม่ได้หรือ? ผมเล่าให้ฟังอย่างนี้ละกันครับ ประเทศอินโดนีเซียเนี่ยถือว่าเป็นประเทศที่มีการเติบโตในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านจำนวนผู้ใช้มือถือ ด้านจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และค่า GDP ต่อหัวที่พุ่งแรงสุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้! ลองคิดภาพดูว่าถ้าคุณจะทำธุรกิจ e-commerce คุณก็คงเลือกประเทศนี้เป็นตัวเลือกแรกๆแน่ๆgdp

นอกจากนี้ ยังมีคนออกมาคาดการณ์ว่าตลาด e-commerce ของประเทศนี้จะมีโอกาสแตะหลัก 130 ล้านเหรียญในปี 2020 แน่ๆ (เป็นรองแค่ประเทศจีนและอินเดียเท่านั้น) เนื่องจากสภาพตลาดของอินโดนีเซียเหมือนกับสภาพตลาดของจีนในอดีตอย่างไม่ผิดเพี้ยน (มีพ่อค้าแม่ขายในโลกออนไลน์เยอะมากๆ) ประกอบกับความคล้ายคลึงกับตลาดของอเมริกาที่ ผู้บริโภคมีเยอะมากๆเช่นกัน แต่ต้องคอยระมัดระวังตัวตลอดเวลาเมื่อซื้อของออนไลน์ ดังนั้นถ้ามีบริษัทไหนมาสร้างความน่าเชื่อถือให้กลุ่มผู้บริโภค และมัดรวมเหล่าพ่อค้าแม่ขายให้อยู่ในที่ๆเดียวกันได้ ก็คงจะรวยไม่ใช่น้อย

shp

เป็นไงหละครับ เริ่มเห็นภาพกันหรือยังว่าทำไม Sea ถึงกล้าที่จะประกาศตัวว่า “เงินลงทุนส่วนใหญ่ จะเอาไปลงกับ Shopee เพื่อทำตลาด ณ ประเทศอินโดนีเซีย” หลายๆคนอ่านมาถึงตอนนี้แล้ว อาจจะเกิดคำถามภายในใจว่า “อ้าว แล้วเกี่ยวอะไรกับตลาดเกมหละครับ?” ใจเย็นๆครับ ผมต้องเล่าข้อมูลเบื้องหลังอีกอย่างหนึ่งก่อน…

Garena

สมัยก่อนนั้น Sea เป็นบริษัทที่โตมาจากแพลตฟอร์มการให้บริการเกมดังๆ หลากหลายเกมบน PC ไม่ว่าจะเป็น Fifa Online 3, HoN, LoL, Point Blank และอื่นๆ จนหันมาให้บริการเกมในมือถือในตอนนี้อย่าง HeadShot, RoV และ BreakOut เรียกได้ว่าสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างบานเบอะ รับทรัพย์กันเต็มๆ จนทำให้เหล่าผู้บริหารของ Sea ในตอนนั้นมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้แบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นในเชิง Social Media อย่าง Beetalk, Garena TalkTalk และ Garena Live หรือจะเป็นแนว Digital Payment Service อย่าง Airpay (รวมถึงระบบในร้านเกม) และแนว e-commerce อย่าง Shopee ซึ่งธุรกิจที่แตกออกมาเป็นสาขาย่อยเหล่านี้ ไม่ได้ทำเงินได้มากเท่าธุรกิจเกม ดังนั้นจึงต้องมีการโยกย้าย โอนถ่ายรายได้จากธุรกิจเกมมาช่วยอยู่ตลอด (Airpay ได้กำไรอยู่นิดหน่อย แต่ Shopee ขาดทุนตลอดเนื่องจากยังไม่ใส่เครื่องมือในการหารายได้หลักเข้าไป)
logo-airpay-footer           garena live

ดังนั้นไม่แปลกครับ ที่หลายคนมองเห็นว่าทำไมเกมจากค่าย Sea ถึงโฟกัสที่การทำเงินควบคู่ไปกับการคัดสรรหาเกมที่มีคุณภาพคับแก้วเป็นส่วนใหญ่(เน้นว่าไม่ใช่ทั้งหมด) ทำให้เกมเมอร์หลายท่านพร้อมเปย์อยู่เป็นนิจ (ฮ่าๆ) และแม้ว่าสายฟรีจะบ่นขนาดไหน ทางผู้ให้บริการทำได้แค่เพียงออก Promotion เด็ดๆมายาใจพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้น มิอาจจะไปลดรายได้หลักที่มีไว้หล่อเลี้ยงชีวิตของบริษัทได้

แต่ถ้าวันใดวันหนึ่ง เหล่าธุรกิจที่แตกแขนงออกมานั้น สามารถเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดได้ เหมือนธุรกิจเกมของ Sea ผมคิดว่า ก็น่าจะมีโอกาสที่จะเกิดการ “คืนความสุขให้เหล่าเกมเมอร์” เช่นลดกระหน่ำ Summer Sales หรือแจกของฟรีรัวๆ ก็เป็นได้

rovvv

Breakout29460-650

ในอีกมุมนึง Sea น่าจะเพ่งเล็งไปยังเกมมือถือมากขึ้น เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ได้ฉายาว่า “First Mobile” พูดง่ายๆก็คือ คนเข้าระบบสู่โลกออนไลน์ผ่านทางมือถือ มากกว่าคอมตั้งโต๊ะหรือโน๊ตบุ้คนั่นเอง ถ้าหาก Sea เจาะตลาดของ Shopee ได้ คงจะไม่ยากที่เกมอย่าง RoV และ BreakOut ที่กำลังมาแรงในไทย จะไปโลดแล่นในตลาดอินโดนีเซียอย่างเฉิดฉายเช่นกัน และถัดจากนั้นคงไม่พ้นจากการจัดงานมหกรรม esports อย่าง GSL ที่เพิ่งจัดที่ไทยไปหมาดๆ(จนคว้าอันดับ 1 รายการที่ใหญ่ที่สุดใน SEA) แต่ถ้ามาเปิดในอินโดนีเซีย ไทยเราคงเสียแชมป์หละคราวนี้ เพราะประเทศเค้ามีประชากรเยอะกว่าเรามากๆ

gsl-2017

สุดท้ายนี้ต้องลองมาลุ้นกันว่า “Sea Ltd. จะกลายเป็นเจ้าแห่ง SEA ภายในกี่ปี?”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก TechCrunch และ Indonesia-Investment

By Svb